มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดี คำสอน ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรมที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ไพเราะ มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย สามารถจดจำได้ง่าย มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย
วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
หัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่ม
เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยใช้
พระนามแฝงว่า
รามจิตติ เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. 2464
ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ
รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ ประพันธ์ ประยูรสิริ
เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมไทยผ่านมุมมองของ ชายหนุ่ม (นักเรียนนอก)
ในรูปแบบของจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ ประเสริฐ สุวัฒน์
โดยทรงพระราชนิพนธ์ชี้แจงไว้ในคำนวนิยาย
ฉบับที่
1
นายประพันธ์ ประยูรสิริ ได้ส่งจดหมายถึงนายประเสริฐ สุวัฒน์
ซึ่งเป็นเพื่อนรักกัน เป็นฉบับแรก
เนื้อความในจดหมายกล่าวถึงการเดินทางกลับมายังประเทศไทยจากลอนดอนของนายประพันธ์
นอกจากนั้นยังบรรยายถึงความเสียใจที่ไปกลับประเทศไทยและการดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง
และได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางกลับภายในเรือโดยสาร คือ
ได้พบปะกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ตนเองสนใจ
แต่ต้องผิดหวังเนื่องจากหล่อนมีหวานใจมารอรับ
ที่ท่าเรืออยู่แล้ว
ฉบับที่
4
จดหมายในฉบับที่ 4 นี้กล่าวถึง การกลับมาถึงประเทศไทย และการเข้ารับราชการ
ซึ่งใช้เส้นแต่ไม่สำเร็จผล
นอกจากนี้คุณพ่อของนายประพันธ์ได้หาภรรยาไว้ให้นายประพันธ์แล้ว หล่อนชื่อ กิมเน้ย
เป็นลูกสาวของนายอากรเพ้ง
ซึ่งพ่อของนายประพันธ์รับรองว่าเป็นคนดีสมควรแก่นายประพันธ์ด้วยประการทั้งปวง
แต่ด้วยนายประพันธ์เป็นนักเรียนนอก จึงไม่ยอมรับเรื่องการคลุมถุงชน
จึงได้ขอดูตัวแม่กิมเน้ย ก่อน นอกจากนั้นในจดหมายได้เล่าถึง การพบปะกับผู้หญิง
คนหนึ่งที่ตนถูกใจที่โรงพัฒนากรด้วย
ฉบับที่ 5
จดหมายฉบับที่
5 กล่าวถึง การได้เข้ารับราชการของนายประพันธ์
นายประพันธ์ได้เข้ารับราชการในกรม-พานิชย์และสถิติพยากรณ์
และนายประพันธ์ได้พอกับแม่กิมเน้ย หน้าตาของหล่อนเหมือนนายซุนฮูหยิน
แต่ก็ยังไม่เป็นที่ถูกใจของนายประพันธ์
นอกจากนั้นนายประพันธ์ได้เล่าถึงผู้หญิงที่เจอในโรงพัฒนากร หล่อนชื่อนางสาวอุไร
พรรณโสภณ เป็นลูกสาวของพระพินิฐพัฒนากร
ฉบับที่ 6
จดหมายฉบับที่
6 กล่าวถึง การได้นับพบแม่อุไร การไปเที่ยวในระหว่างงานฤดูหนาว ทุกวัน
ทุกคืน และได้บรรยายถึงรูปร่างลักษณะองแม่อุไร ว่าเป็นคนสวยน่ารัก และกล่าวว่า
แม่อุไรงามที่สุดในกรุงสยาม แม่อุไรมีลักษณะเหมือนฝรั่งมากกว่าคนไทย มีการศึกษาดี
โดยสิ่งที่ นายประพันธ์ชอบมากที่สุดคือ การเต้นรำ
ซึ่งแม่อุไรก้อเต้นรำเป็นอีกด้วย
ฉบับที่ 9
จดหมายฉบับที่ 9 กล่าวถึง การแต่งงานการแม่อุไรโดยรีบรัด
เนื่องจากสาเหตุการนัดพบเจอกันบ่อยครั้ง จนทำให้แม่อุไรตั้งครรภ์ขึ้นมา
การสู่ขอนั้นคุณพ่อได้ไปขอให้ท่านเจ้าคุณมหาดเล็กไปสู่ขอ
หลังจากแต่งงานทั้งคู่ได้ไปฮันนี่มูนที่หัวหินด้วยกัน.
ฉบับที่
11
ประพันธ์กลับกรุงเทพได้
3 อาทิตย์ มาอยู่ที่บ้านใหม่ บ้านใหม่ที่เขาคิดว่าไม่มีความสุขเลย
ประพันธ์ได้เล่าให้พ่อประเสริฐฟังถึงตอนที่อยู่เพชรบุรีว่า ได้ทะเลาะกับแม่อุไร
แล้วเลยกลับกรุงเทพ มีเรื่องขัดใจ มีปากเสียงกันตลอดขากลับ เมื่อมาถึงที่บ้านใหม่
ก็ต้องมีเรื่องให้ทะเลาะกัน แม่อุไร ไม่อยากจัดบ้านขนของ เพราะถือตนว่าเป็นลูกผู้ดี
และนอกจากนั้นก็มีเหตุให้ขัดใจกันเรื่อยๆ ไม่ว่าประพันธ์จะทำอะไร
แม่อุไรก็มองว่าผิดเสมอ
ฉบับที่
12
แม่อุไรได้แท้งลูก
และสิ้นรักประพันธ์แล้ว แต่ประพันธ์ก็ยังทนอยู่กับแม่อุไร ยอมฝืนรับชะตากรรม
แม่อุไรชอบไปเที่ยวและชอบไปคนเดียว พอประพันธ์ถามว่าไปไหน แม่อุไรก็โกรธฉุนเฉียว
นานเข้าห้างร้านต่างๆก็ส่งใบทวงเงินมาที่ประพันธ์ ประพันธ์จึงเตือนแม่อุไร
แต่แม่อุไรกลับสวนกลับมาว่า ประพันธ์ไม่สืบประวัติของเธอให้ดีก่อน
และเธอก็จะไม่ปรับเปลี่ยนตัวเอง ประพันธ์จึงต้องไปขอเงินพ่อเพื่อใช้หนี้
ต่อมาพ่อของประพันธ์จึงลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์ เรื่องจะไม่ชดใช้หนี้ให้แม่อุไร
เมื่อแม่อุไรเห็นแจ้งความ จึงลงย้อนกลับบ้าง แล้วแม่อุไรก็กลับไปอยู่บ้านพ่อของเธอ
คุณหลวงเทพปัญหามาหาประพันธ์ คุยเรื่องต่างๆกัน รวมถึงเรื่องแม่อุไร ที่เที่ยว
อยู่กับพระยาตระเวนนคร ด้วยความเป็นห่วงแม่อุไร จึงส่งจดหมายไปกล่าวเตือน แต่ถูกฉีก
เป็นชิ้นๆ กลับมา ต่อมาหลวงเทพก็มาหาประพันธ์
เพื่อบอกว่าแม่อุไรไปค้างบ้านพระยา ตระเวนนคร แล้ว
และหลวงเทพก็รับธุระเรื่องขอหย่า
ตอนนี้ประพันธ์จึงกลับมาโสดอีกครั้ง
ฉบับที่ 13
ประพันธ์มีความสุขที่ได้กลับมาเป็นโสดอีกครั้ง
ส่วนแม่อุไรก็ไปอยู่กับพระยาตระเวน
พระยาตระเวนมีนางบำเรออยู่ถึง
7 นาง และทั้งหมดก็แผลงฤทธิ์เวลาพระยาไม่อยู่
พระยาตระเวนจึงหาบ้านให้แม่อุไรอยู่อีกหนึ่งหลัง ประพันธ์ได้ย้ายตำแหน่งการทำงาน
มาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ทางเสือป่า ประพันธ์
เข้าประจำกรมม้าหลวง
ฉบับที่
15
ประพันธ์คิดว่างานเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาคงจะสนุกมาก
พระยาตระเวนก็สนุกเหมือนกัน เพราะไปไหนมาไหนเป็นชายโสด
เนื่องจากพระยาตระเวนกับแม่อุไรยังไม่ได้เป็นผัวเมียกันตามกฎหมาย
ตอนนี้พระยาตระเวนติดผู้หญิงที่ชื่อสร้อย
แต่แม่อุไรก็ยังได้แต่นิ่งเฉยไม่สามารถทำอะไรได้
ฉบับที่
17
ประพันธ์ไปอยู่ที่ค่ายตอนนี้ได้เลื่อนยศเป็นนายหมู่ใหญ่ขึ้น
พอกลับบ้าน แม่อุไรก็มาหาประพันธ์ที่บ้าน
หล่อนมาง้อประพันธ์ให้ชุบเลี้ยงหล่อนอีกครั้ง เพราะหล่อนไม่มีที่ไป
บ้านที่หล่อนเคยอยู่ พระยาตระเวนก็ยกให้แม่สร้อย จะไปหาพ่อ ก็เคยพูด อวดดีกับพ่อไว้
แต่ประพันธ์เห็นว่า ให้หล่อนกลับไปง้อพ่อจะดีกว่า
หล่อนจึงไปง้อพ่อแล้วก็ไปอยู่กับพ่อ
ฉบับที่
18
แม่อุไรได้แต่งงานกับหลวงพิเศษ
ผลพานิช พ่อค้ามั่งมี ประพันธ์จึงคลายห่วง ส่วนประพันธ์ก็ได้รักชอบพอกับ
นางสาวศรีสมาน ลูกสาวพระยาพิสิฐเสวก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)